บทสัมภาษณ์ บ้านขนมไทย สอง-แสน

วันนี้จะพามาพูดคุยกับเจ้าของร้านขนมไทยขึ้นชื่อของเมืองสงขลา ถือว่าเป็นอีกหนึ่งร้านขนมไทยของฝากชื่อดังที่นักท่องเที่ยวต้องแวะซื้อของฝากก่อนกลับเลยก็ว่าได้ “บ้านขนมไทย สอง-แสน” เปิดมาแล้วกว่า 60 ปี จากรุ่นยายสู่รุ่นแม่ จนกลายมาสู่รุ่นที่ 3 มีวิธีและแนวคิดในการบริหารร้านยังไงให้ไปต่อไปได้ เรามาอ่านบทสัมภาษณ์ไปพร้อมๆกันเลยครับ

จุดเริ่มต้นของบ้านขนมไทย สอง-แสน

คุณรัฐนคร ปิยะศิริโสฬส หรือพี่สอง เจ้าของร้าน บ้านขนมไทยสอง-แสน ในรุ่นที่ 3 ได้เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้าที่จะมีร้านนี้ คุณสมพร(คุณแม่ของพี่สอง) ได้นำเรียนรู้นำสูตรจากคุณยายกิ้มฉิ้น(แม่ของพี่สอง)ที่ขายหาบเร่ขายในช่วงแรกๆ จนถึงช่วงเวลานึงแม่ของพี่สองก็จึงได้ตัดสินใจเปิดหน้าร้านขึ้น ซึ่งร้านเก่าได้ตั้งอยู่ตรงข้ามร้านปัจจุบันแต่เป็นร้านไม่ใหญ่มากนัก ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากทั้งผู้คนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว จึงย้ายมาร้านปัจจุบันซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่า เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและเพิ่มพื้นที่การวางขนมได้มากขึ้น และจึงตั้งชื่อร้านว่า สอง-แสน ซึ่งมีที่มาจากชื่อของลูกชายนั้นเองครับ

กว่าจะมารับช่วงต่อต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินว่า ธุรกิจบางธุรกิจที่ส่งมือจากรุ่นสู่อีกรุ่น รุ่นลูกๆมักจะทำได้ไม่ดีเท่ารุ่นพ่อแม่ที่สร้างมา แต่สำหรับพี่สองไม่เลย พี่สองเล่าว่า ตนเองมีความผูกพันธ์กับร้านขนมไทยตั้งแต่เด็กๆอยู่แล้วหละครับ ใช้เวลาว่างหลังจากเลิกเรียนในช่วงมัธยมช่วยทางบ้านทำขนมเป็นประจำเลยทำให้รู้สึกว่านี่คืออาชีพของแม่ และผูกพันธ์เป็นส่วนหนึ่งไปในชีวิต เลยมีพื้นฐานทางด้านนี้มาพอสมควรแล้วเลยไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากมาย

คนแต่ละ GEN ความคิดต่างกัน 

พี่สองเล่าต่อว่า ช่วงแรกๆที่เรียนจบมาแล้วกลับมาพร้อมรับช่วงต่อทำธุรกิจขนมที่ร้านช่วงแรกๆที่ออกมาทำร้านก็ไม่ค่อยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะความคิดไม่ค่อยตรงกัน ตามยุคสมัยของคนแต่ละ GEN ไม่ว่าจะความคิดคุณน้า คุณแม่ ต่างจากความคิดของพี่สองซึ่งต้องใช้เวลานานพอสมควรที่ต้องค่อยๆคุยกันและปรับกันไปเรื่อยๆ จนได้พิสูจน์ตัวเองให้คุณแม่เชื่อมั่นปัจจุบันพี่สองดูแลร้านเต็มตัว จัดระเบียบร้านใหม่  ทำร้านใหม่ และมีแปลนที่จะขยายไปในอนาคตอีกด้วยครับ

มีขนมเยอะมากแล้วดูแลยังไง มีปัญหามั้ยครับ

ในส่วนของขนมที่ บ้านขนมไทย สอง-แสนนั้น มีมากมายกว่า 200 ชนิด และขนมที่มีตามฤดูกาลอีก 50 ชนิด รวมกันเป็น 250 ชนิดซึ่งมีทั้งขนมไทยโบราณ และขนมร่วมสมัย ปัญหาที่เจอ ก็คือ ขนมบางชนิดที่ไม่ได้เป็นขนมแห้งไม่สามารถเก็บได้นาน และไม่ใส่สารกันบูด จึงมีปัญหาว่าจะเสียเร็วกว่าชนิดอื่นๆตามมา วิธีแก้ไขคือ จัดการบริหารสต๊อกให้ดี และทำสดๆทุกวันขายให้หมดวันต่อวันครับ ส่วนอีกปัญหานึงก็คงจะเป็นวัตถุดิบสำหรับขนมบางชนิดที่หายากขึ้น เช่น เมล็ดข้าวฟ่างที่หาไม่ค่อยได้ในพื้นที่ต้องไปซื้อถึงต่างจังหวัด ทำให้มีต้นทุนที่แพงมากขึ้น แต่ทางร้านก็ต้องยอมที่จะหาให้ได้เพื่อความต้องการของลูกค้านั่นเองครับ

ขนม 250 ชนิด อะไรขายดีที่สุด

แน่นอนว่าต้องมีพระเอกสำหรับงานนี้ ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าปัจจุบันคนเราชอบกินขนมไทยอะไรบ้างใน 200 กว่าชนิดที่ทางร้านมี คือ ทองเอก สัมปันนี ข้าวฟ่างกวน ขี้มอด เกสรลำเจียก ทองม้วน มะม่วงเบาแช่อิ่ม(ตามฤดู) ซึ่งบ้างชนิดบอกเลยว่าปัจจุบันหากินยากมากๆแล้ว

เป้าหมายของขนมไทยสอง-แสน ในอนาคต

  • ทำโรงงานเพิ่มกำลังการผลิตของขนมให้มากขึ้น และขอ อ.ย. เพื่อให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังจะขยายสาขาเข้าไปในตัวเมืองอีกด้วย
  • ตั้ง Shop ตามจุดต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และมีแปลนที่จะมาเปิดในหาดใหญ่ เช่นกัน
  • เพิ่มชนิดขนมให้มากขึ้นเข้าไปอีก และเบเกอร์รี่ร่วมสมัย ทำเป็นของฝาก
  • เพิ่มแบรนด์ น้ำพริกให้เป็นของฝาก น้ำพริกพื้นเมืองของใต้ เช่น แกงไตปลาอบกรอบ กุ้งเสียบสามรส น้ำบูดู เป็นต้น

ข้อคิดในการทำธุรกิจ

  • มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกค้า มองลูกค้าให้เหมือนคนในครอบครัว
  • เน้นคุณภาพของสินค้า สิ่งที่ดีที่สุด เลือกใช้วัตถุิดิบที่ดี วัตถุดิบที่ดีอาจตามมาด้วยต้นทุนที่แพงขึ้น แต่ลูกค้าก็จะประทับใจมากขึ้น
  • ถ้าคิดจะทำอะไรแล้วต้องศึกษาอดทน เรียนรู้ และโฟกัสกับสิ่้งนั้นๆ ให้มากพอ

ได้ข้อคิดจากพี่สองมาพอสมควรเลย สุดท้ายนี้พี่สองได้ฝากให้อยากให้ทุกคนมาเที่ยวเมืองเก่าสงขลาเยอะๆ มีทั้งร้านของกินเก่าแก่เยอะแยะมากมายของอร่อย บางอย่างหากินยากมากแล้ว และมุมถ่ายรูปสวยๆอีกมากมาย มาร่วมผลักดันทำให้เมืองสงขลาเป็นมรดกโลกกันครับ

Check Also

บทสัมภาษณ์ร้านซูชิแชมป์เปี้ยน

กว่า 8 ปีบนเส้น …